หัวล้าน จากความเครียด สาเหตุและวิธีรักษา
หัวล้าน จากความเครียด เป็นอีกสาเหตุสำคัญของการเกิดหัวล้าน เนื่องจากความเครียดจะกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอและหลุดร่วง ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ชาย แต่ก็สามารถเกิดในผู้หญิงได้เช่นเดียวกัน เป็นปัญหากวนใจของหลาย ๆ คน เพราะจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของความมั่นใจ
แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะในปัจจุบัน มีแนวทางในการรักษาหัวล้านหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการทานอาหารบำรุงผม หรือเลือกใช้แชมพูสำหรับผมร่วง นอกจากนี้ ยังมีการทำหัตถการ ปลูกผม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านให้หมดไป อย่างไรก็ตาม การจะทำหัตถการควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ในวันนี้มาสเตอร์พีชจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ ตั้งแต่ต้นเหตุของหัวล้านอย่างความเครียด ตลอดจนแนวทางการจัดการความเครียด และรักษาหัวล้าน ไปดูพร้อมกันในบทความได้เลย
หัวล้านคืออะไร เกิดจากอะไร?
หัวล้าน เป็นอาการที่สืบเนื่องมาจากผมร่วง ผมบาง ซึ่งจะทำให้เส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะเป็นจำนวนมาก จนศีรษะล้านเกือบทั้งหมด หัวล้านจึงถือเป็นปัญหากวนใจของหลายคน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความมั่นใจ รวมไปถึงบุคลิกภาพ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้หัวล้าน มีดังนี้
- ความเครียด
ความเครียด ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการหลุดร่วงของเส้นผม เนื่องจากเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ระบบเส้นผมแปรปรวน ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอ และหลุดร่วงไวกว่าคนในวัยเดียวกัน หากไม่มีการจัดการกับความเครียด ในระยะยาวก็อาจส่งผลให้ผมร่วงลุกลามจนถึงหัวล้านได้
- กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์ ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหัวล้านได้ เนื่องจากยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของเส้นผม สามารถส่งต่อผ่านรุ่นสู่รุ่นได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บางคนมีอาการหัวล้านตั้งแต่อายุยังน้อย
- อายุที่มากขึ้น
อายุถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเส้นผม เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การทำงานของรากผมและรูขุมขนจะเสื่อมสภาพลง ส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม ทำให้เส้นผมที่งอกใหม่บางลงและงอกช้าลง การเจริญเติบโตของเส้นผมจะไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผมก็จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้หัวล้าน มักเกิดในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่
- เชื้อราบนหนังศีรษะ
เชื้อราบนหนังศีรษะบางชนิด จะทำลายรูขุมขนและรากผม ทำให้เส้นผมหลุดร่วงและไม่สามารถงอกใหม่ได้ นอกจากนี้เชื้อราบนหนังศีรษะยังส่งผลให้เกิดอาการคัน แดง และมีอาการหนังศีรษะลอก ซึ่งในระยะยาว จะส่งผลต่อสุขภาพเส้นผมได้
- การใช้ยา
การใช้ยาบางชนิด สามารถทำให้เส้นผมหลุดร่วงได้ เนื่องจากการใช้ยาจะส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเส้นผม ทำให้เส้นผมไม่สามารถงอกได้ตามปกติ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้ชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิง เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
- ขาดสารอาหาร
การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน และสารอาหารสำคัญอื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะผมบางได้ ซึ่งถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็อาจนำไปสู่หัวล้านได้
หัวล้านมีกี่ประเภท?
หัวล้านในทางการแพทย์ สามารถแบ่งออกเป็นกรณีของผู้ชายและกรณีของผู้หญิง ดังนี้
หัวล้านในผู้ชาย ตามเกณฑ์ Norwood Scales จะมี 7 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ผมหลุดร่วงเล็กน้อย แต่ยังมีผมดกตามปกติ ไม่มีภาวะหน้าผากกว้างเถิก ในกรณีนี้ถือเป็นระยะที่ยังควบคุมได้
- ระยะที่ 2 แนวผมด้านหน้าถอยร่นลงไปเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณขมับทั้งสองข้าง
- ระยะที่ 3 จะเป็นระยะที่สามารถสังเกตเห็นหัวล้านได้ชัดเจน โดยแนวผมบริเวณขมับทั้งสองข้างจะเถิกขึ้นไปด้านบนเป็นวงกว้าง คล้ายตัว M นอกจากนี้ผมบริเวณกระหม่อมยังบางลง จนเกิดเป็นจุดเล็ก ๆ กลางศีรษะ
- ระยะที่ 4 ในระยะนี้ จะมีผมร่วงมากขึ้น แนวผมและแนวขมับเถิกมากขึ้น จุดกลางกระหม่อมขยายเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม จะยังคงมีเส้นผมคั่นกลางจุดด้านบนผม และแนวผมที่เถิกด้านหน้า
- ระยะที่ 5 ในระยะนี้จะมีความคล้ายคลึงกับระยะที่ 4 แต่รุนแรงกว่า เนื่องจากขมับทั้งสองข้างจะเถิกขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงรอยต่อระหว่างแนวผมด้านหน้ากับจุดหัวล้านด้านบนจะบางลงมาก
- ระยะที่ 6 แนวผมเถิกด้านหน้าและจุดล้านบริเวณกลางกระหม่อมจะขยายมาชนกัน
- ระยะที่ 7 ในระยะนี้ศีรษะจะล้านเกือบทั้งหมด เหลือเส้นผมแค่บริเวณด้านข้างเหนือหูและด้านหลังเท่านั้น
หัวล้านผู้หญิง ตามเกณฑ์ Ludwig Scales จะมี 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ผมหลุดร่วงจนบางเล็กน้อย โดยจะสังเกตเห็นได้ชัดที่สุดจากจุดแสกกลางหัว
- ระยะที่ 2 จุดแสกกลางศีรษะเริ่มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
- ระยะที่ 3 จุดแสกกลางศีรษะล้านเตียนเป็นวงกว้าง
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียด คือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่เผชิญ ซึ่งความเครียดจะส่งผลต่อการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ การมองเห็น รวมถึงระบบประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งในบางกรณี ความเครียดก็มีข้อดี คือทำให้ร่างกายตื่นตัวได้ อย่างไรก็ตามหากมีความเครียดสะสมนานเกินไป จะส่งผลเสียให้แก่ร่างกายมากกว่า เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าตลอดเวลา อีกทั้งยังส่งผลต่อร่างกายและจิตใจอีกด้วย
สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความเครียด เกิดจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
- ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยแบ่งออกเป็น 4 เรื่องหลัก คือ
- สุขภาพ
ปัญหาสุขภาพ จะก่อให้เกิดความเครียด เนื่องจากเมื่อมีโรคประจำตัวหรืออาการป่วยที่รักษาไม่หาย จะทำให้เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และในระยะยาวอาจมีความเครียดสะสม จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
- ความสัมพันธ์
ความเครียดจากความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือคนรัก ล้วนเป็นปัญหาที่เรื้อรัง และสร้างความกดดันต่อการใช้ชีวิต ซึ่งอาจส่งผลเสียจนนำไปสู่ความแตกแยกของความสัมพันธ์ได้
- การทำงาน
การทำงาน มักจะก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย ทั้งความกดดันที่ได้รับจากหัวหน้า รวมถึงการแข่งขันที่สูงในที่ทำงาน และแนวทางปฏิบัติ ที่อาจไม่เหมาะกับบางคน จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม
- การเปลี่ยนแปลงในชีวิต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว ล้วนส่งผลให้เกิดความเครียด เช่น ความสูญเสีย หรือการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว เป็นต้น
- ปัจจัยภายใน
สำหรับปัจจัยภายใน จะเกิดจากความรู้สึกภายในร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะจากโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ จะส่งผลให้เกิดความเครียดได้ง่าย
ความเครียดส่งผลต่อหัวล้านอย่างไร?
ความเครียด ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการหลุดร่วงของเส้นผม ซึ่งเกิดขึ้นได้จริงและมีงานวิจัยสนับสนุน เนื่องจากเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisal) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ระบบเส้นผมแปรปรวน ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอ และหลุดร่วงไวกว่าคนในวัยเดียวกัน สาเหตุของความเครียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัว ความกดดัน ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะหัวล้าน โดยความเครียดที่ส่งต่อหัวล้าน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
- Telogen effluvium (TE)
เป็นภาวะผมร่วงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากภาวะเครียดสะสมกระตุ้นให้รากผมมีระยะพักตัวเร็วกว่าเดิม ผลลัพธ์คือทำให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักตัวมากขึ้นและหลุดร่วงออกมามากกว่าปกติ ซึ่งนอกจากความเครียดแล้ว ภาวะผมร่วงฉับพลันอาจเกิดขึ้นได้จากปัญหาสุขภาพเรื้อรัง หรือโรคทางจิตเภทอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
- Trichotillomania
เป็นภาวะการแสดงออกทางกายที่เกิดจากความเครียด โดยผู้ที่มีภาวะนี้จะแสดงพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมโดยไม่รู้ตัว เช่น การแกะเกาหนังศีรษะ รวมถึงการดึงเส้นผมตัวเอง
- Alopecia Areata (AA)
เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ทำร้ายรูขุมขนบนหนังศีรษะ ส่งผลให้ศีรษะล้าน และผมร่วงเป็นวงกว้าง
ความเครียดยังส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมในด้านอื่น ๆ เช่น ผมหงอกก่อนวัย อีกทั้งในระยะยาว ความเครียดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นด้วย เช่น ความจำสั้น ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ฯลฯ ดังนั้น หากใครรู้ตัวว่ามีอาการเครียดจนทำให้ผมร่วง แนะนำว่าควรมีการจัดการกับความเครียด เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือถ้าใครยังมีความกังวล โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ พร้อมให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
วิธีการจัดการความเครียดเพื่อลดอาการหัวล้าน
เทคนิคการผ่อนคลาย
- การทำสมาธิ
สำหรับการทำสมาธิ แนะนำให้ทำวันละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือก่อนนอน โดยแนะนำให้ทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการทำสมาธิจะทำให้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ สมองแจ่มใส และความเครียดลดลง ซึ่งการทำสมาธิมีงานวิจัยรองรับว่ามีผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุข ทำให้สมองทำงานอย่างเป็นระเบียบ การทำงานของระบบร่างกายดีขึ้น และทำให้โรคที่เกิดจากความเครียดลดลง
- การออกกำลังกาย
สำหรับการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นให้ออกแรง จะทำให้หลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินออกมา ซึ่งฮอร์โมนแห่งความสุขจะทำให้รู้สึกดีกับตัวเอง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย โดยแนะนำให้ออกกำลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- หางานอดิเรกที่ตัวเองสนใจ
การโฟกัสกับสิ่งที่ชอบ จะทำให้ผ่อนคลาย และลืมความกังวลไปชั่วขณะหนึ่ง อีกทั้งยังเติมเต็มความสุข และทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี
การดูแลสุขภาพจิต
- การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ
การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้ได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังสามารถวินิจฉัยและประเมินอาการ ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ก่อนที่ปัญหาจะลุกลาม อีกทั้งยังเป็นผู้รับฟังที่ดี ทำให้ได้ระบายความเครียดผ่านการพูดคุย ผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่เหมือนกับกระจก ทำให้คนไข้ มองเห็นปัญหา ยอมรับปัญหา และรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
- การเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน
สำหรับกลุ่มสนับสนุนหรือกลุ่มบำบัด จะช่วยในการผ่อนคลายและลดความเครียด ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง วาดภาพ หรือแม้กระทั่งการทำสมาธิร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และสามารถทำกิจกรรมได้อย่างเพลิดเพลิน นำไปสู่การทำให้โรคที่เกิดขึ้นจากความเครียดลดลง
แนวทางการรักษาหัวล้าน
สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม ได้รับผลกระทบจากหัวล้าน และต้องการรักษาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีบริการปลูกผม 3M Hair Transplant ที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีทั้งเทคนิค และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยแก้ปัญหา ผมบาง ผมร่วง โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากกรรมพันธุ์ พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ดูแลอย่างใกล้ชิด มั่นใจได้ว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติและตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังมีการติดตามอาการและดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
สรุป
ปัญหาหัวล้านจากความเครียด ถือเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข เนื่องจากหากปล่อยไว้ในระยะยาว นอกจากจะส่งผลต่อเส้นผมบนหนังศีรษะ อีกทั้งความเครียดสะสมยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น จึงควรมีการจัดการความเครียด อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่มีปัญหาหัวล้านรุนแรง จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีธรรมชาติ โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีบริการปลูกผม โดย 3M Hair Transplant ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลเกี่ยวกับเส้นผมแบบครบวงจร มีแพทย์ผู้ชำนาญการ เทคนิคพร้อมทั้งเครื่องมือทันสมัย ได้รับมาตรฐานโรงพยาบาล มั่นใจได้ว่าผลลัพธ์จะดูเป็นธรรมชาติและตรงความต้องการมากที่สุด
แหล่งอ้างอิงและแหล่งความรู้ของเพิ่มเติม:
บทความโดย
โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช : เราคือโรงพยาบาลศัลยกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย มีความต้องการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเกี่ยวกับบริการศัลยกรรมด้านความงาม โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ดูแลคุณตั้งแต่การให้คำปรึกษาไปจนถึงหลังการผ่าตัด โดยทีมแพทย์มากประสบการณ์ที่มีประสบการณ์สูง มอบบริการครบวงจรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สำคัญทุกอย่างดำเนินการภายใต้มาตรฐานการรักษาพยาบาล ของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการให้บริการสถานพยาบาลระดับสากล AACI
ข้อมูลการติดต่อโรงพยาบาล
ตั้งอยู่ที่ 99/19 ถนนสุไขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300