ผ่าตัดกระเพาะอาหาร รักษาโรคอ้วนอย่างได้ผล

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery) คือการผ่าตัดที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดน้ำหนัก และรักษาโรคอ้วน โดยการทำให้ขนาดของกระเพาะอาหารเล็กลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณอาหารที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละครั้งและลดการดูดซึมอาหารในลำไส้ เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผล ทำให้เมื่อรับประทานอาหารจะอิ่มเร็วและรับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งในกระเพาะอาหารยังมีฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความอยากอาหาร เมื่อผ่าตัดกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนดังกล่าวก็จะลดน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้ความอยากอาหารลดน้อยลง รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ที่มีน้ำหนักเกินดีขึ้นด้วย

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะหากได้รับการดูแลจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ ก็จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนก็น้อยลง โดยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร สามารถทำได้ 3 วิธี คือ การผ่าตัดแบบสลีฟ การผ่าตัดแบบบายพาส และการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร

ในบทความนี้โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช จะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดกระเพาะอาหาร เพื่อประกอบการตัดสินใจ และให้ความรู้ว่าการตัดกระเพาะอาหารมีวิธีอะไรบ้าง? การฟื้นตัวใช้ระยะเวลานานไหม? มีข้อปฏิบัติอะไรหลังการผ่าตัดกระเพาะบ้าง? เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อมกันได้เลย

วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การลดน้ำหนัก

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร อาจไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน เพราะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่ไม่สามารถลดได้ด้วยวิธีปกติ ก็สามารถเลือกใช้วิธีการผ่าตัดกระเพาะได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ก่อน เพื่อทำให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การรักษาโรคอ้วน

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน การผ่าตัดกระเพาะอาหารถือเป็นวิธีที่เหมาะสม เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลง และสุขภาพดีขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่

  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 37.5 ขึ้นไป โดยไม่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 32.5 และมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด เป็นต้น
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 27.5 แต่ไม่ถึง 30 เป็นโรคเบาหวานรุนแรง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถควบคุมได้

เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจส่งผลให้คนที่เป็นโรคอ้วนออกกำลังกายได้ไม่สะดวก หรือออกกำลังกายได้ไม่เต็มที่ การออกกำลังกายยังจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหาร จึงทำให้ใช้ระยะเวลานาน แต่การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ใช้ระยะเวลาไม่นาน และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งยังไม่มีแผลเป็นขนาดใหญ่อีกด้วย

เทคนิคการผ่าตัดยอดนิยม

วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

เทคนิคการผ่าตัดกระเพาะอาหารที่นิยม สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่

การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy)

การผ่าตัดแบบสลีฟ หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายคือการผ่าตัดโดยการเอากระเพาะอาหารส่วนใหญ่ออก ซึ่งจะมีการลดขนาดของกระเพาะอาหารมากถึง 80% จากความจุประมาณ 1000 ซีซี จะถูกลดจนเหลือเพียง 150-200 ซีซี กระเพาะอาหารจะถูกเย็บจนมีรูปทรงคล้ายกล้วยหอมหรือแขนเสื้อ โดยส่วนที่ตัดออกไปจะเป็นส่วนที่ยืดขยายเมื่อรับประทานอาหารเข้าไป และเป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนกรีลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราหิว ภายหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร จึงทำให้น้ำหนักลดลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดูดซึมอาหาร หรือแคลอรี่ในร่างกาย เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน และมีความเสี่ยงน้อย

การผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass)

การผ่าตัดแบบบายพาส เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร มีจุดประสงค์เพื่อลดการดูดซึมอาหาร โดยจะทำการเย็บกระเพาะอาหารส่วนบนให้เป็นถุงเล็ก ๆ และเย็บเชื่อมกับลำไส้เล็ก โดยเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการเดินอาหารให้เป็นรูปตัว Y เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารจะเข้าสู่กระเพาะส่วนถุงเล็ก ๆ และผ่านลงลำไส้เล็กส่วนกลางที่นำมาเย็บต่อไว้ โดยไม่ผ่านกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมอาหารได้มาก ผลลัพธ์คือจะทำให้ปริมาณแคลอรี่ที่เข้าสู่ร่างกายน้อยลง ลดความอยากอาหาร และทำให้อิ่มเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดแบบนี้อาจซับซ้อนกว่าวิธีอื่น

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic sleeve gastroplasty)

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร เป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ โดยการใช้ยาสลบทำให้คนไข้หลับ ก่อนจะสอดกล้องวีดีโอขนาดเล็กที่โค้งงอตัวได้ และเครื่องมือพิเศษสำหรับเย็บกระเพาะอาหาร ผ่านทางปากลงไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการเย็บกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง คล้ายกับการผ่าตัดแบบสลีฟ แต่จะไม่มีแผลผ่าตัดภายนอก เจ็บน้อย และฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่า

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

สำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร จำเป็นจะต้องมีการตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อเตรียมความพร้อม และยังมีการส่องกล้อง อัลตราซาวด์รวมถึงตรวจเลือด เพื่อประเมินปัจจัยต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังต้องเข้ารับฟังและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ โดยแพทย์จะอธิบายแผนการรักษา รวมถึงข้อควรปฏิบัติทั้งก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • งดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 4 สัปดาห์
  • งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง
  • ถ้าอยู่ในระหว่างรับประทานยา หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ควรแจ้งแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าควรหยุดหรือสามารถทานต่อได้
  • ควรแจ้งข้อมูลแพทย์ให้ครบถ้วน และหากมีข้อสงสัยหรืออาการผิดปกติใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ทันที

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นการผ่าตัดที่มีอัตราเสียชีวิตต่ำกว่า 1% ภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้น อาทิเช่น มีการรั่ว หรือมีเลือดออกที่รอยตัดของกระเพาะ การตีบตัน มีโอกาสเกิดเพียง 3% ซึ่งความเสี่ยงน้อยพอ ๆ กับการส่องกล้องผ่าตัดมดลูก หรือนิ่วในถุงน้ำดีเพียงเท่านั้น ซึ่งในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดกระเพาะ ก็สามารถแก้ไขได้

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ระยะเวลาฟื้นตัว

ระยะเวลาฟื้นตัว

สำหรับระยะเวลาการฟื้นตัวหลังผ่าตัดกระเพาะ สามารถกลับบ้านได้หลังจากผ่าตัด 3-4 วัน รวมถึงสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ปกติ อย่างไรก็ตาม ควรงดการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อไม่ให้กระทบแผลที่ผ่าตัด ในส่วนของอาหาร ช่วงแรกจะรับประทานอาหารได้น้อยลง และจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ควรเน้นโปรตีน และรับประทานอาหารอ่อน ๆ

การดูแลสุขภาพหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การดูแลสุขภาพหลังการผ่าตัด

สำหรับการดูแลตัวเองหลังจากผ่าตัดกระเพาะอาหาร เพื่อให้การผ่าตัดกระเพาะอาหารมีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ให้น้ำหนักกลับมาเกินเกณฑ์อีก ควรดูแลตัวเอง ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ แต่ไม่กินจุบจิบ
  • เมื่ออิ่มแล้วไม่ควรฝืนทานต่อ ควรหยุดทานทันที
  • หั่นอาหารเป็นชิ้นเล็ก และเคี้ยวให้ละเอียด
  • ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ โดยจิบทีละน้อย และไม่ควรดื่มน้ำพร้อมมื้ออาหาร เพราะจะเว้นระยะเวลาให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานที่สุด
  • จำกัดปริมาณน้ำตาล ลดหรืองดน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง
  • เลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน เน้นโปรตีน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

A : BMI 32.5 ขึ้นไป หรือในบางกรณีอาจจะมีค่า BMI 27.5-30 แต่มีโรคอื่น ๆ หรือไม่สามารถลดน้ำหนักได้ก็อาจสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดกระเพาะได้

A: ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วน น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปสามารถผ่ากระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักได้ หรือในบางกรณีที่อาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มโรคอ้วน แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีปกติได้ ก็อาจมีการปรึกษาแพทย์เพื่อมองหาแนวทางในการผ่าตัดกระเพาะได้เช่นเดียวกัน

A: การผ่าตัดกระเพาะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียที่ตามมาจากการที่น้ำหนักลดเร็วเกินไป จะทำให้บริเวณหน้าท้องย้วยและไม่กระชับ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการตัดหนังหน้าท้อง ทางโรงพยาบาลมาสเตอร์พีชของเรา มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหนังหน้าท้องย้วย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางอื่นๆ ได้

A: หลังการผ่าตัดกระเพาะจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 3-4 วันจึงจะกลับบ้านได้ สามารถใช้ชีวิตปกติและรับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่ง แต่ควรงดกิจกรรมที่ทำให้แผลเกิดการกระทบกระเทือนประมาณ 14 วัน

สรุป

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นแนวทางในการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินและไม่สามารถลดได้ด้วยวิธีปกติ หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน และมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีผลเสียคือหน้าท้องที่ย้วย ถ้าใครที่ประสบปัญหาหน้าท้องย้วย และต้องการจะตัดหนังหน้าท้องเพื่อให้กระชับมากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลมาสเตอร์พีชมีบริการ ตัดหนังหน้าท้อง โดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โรงพยาบาล

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการทำศัลยกรรม

แหล่งอ้างอิงและแหล่งความรู้ของเพิ่มเติม:

Bariatric surgery:
https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/bariatric-surgery/about/pac-20394258

Bariatric surgery Wikipedia:
https://en.wikipedia.org/wiki/Bariatric_surgery

Gastric Bypass Surgery:
https://www.uclahealth.org/medical-services/surgery/bariatrics/obesity-treatments/gastric-bypass-surgery

บทความโดย

โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ

โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช : โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยทีมแพทย์มากประสบการณ์ เพื่อผลลัพธ์ที่สวยงามและเป็นธรรมชาติ

ข้อมูลการติดต่อ
สงสัยเรื่องศัลยกรรม และบริการด้านความงาม? อย่ารอช้า ทีมแพทย์ของเรามีคำตอบให้คุณ เพียงแค่ติดต่อมา เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี! ผ่านช่องทางต่างๆ ที่สะดวกสำหรับคุณ
ตั้งอยู่ที่ 99/19 ถนนสุไขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

แชร์เลย: