เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำกับทรงกลม แบบไหนปังกว่า
เปิดเทคนิคการเสริมหน้าอกสุดปังที่โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซเลือกใช้ ในปัจจุบันการทำนมเป็นอีกหนึ่งหัตถการที่ได้รับความนิยมไม่น้อย เพราะเป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับผู้หญิงเราดูดีขึ้นในพริบตา และยังช่วยปรับสัดส่วนรูปร่างให้ดูสวยสมส่วนมากขึ้นด้วย
ปัจจัยสำคัญในการเข้ารับบริการเสริมนมนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสริมหน้าอกทรงหยดนํ้าหรือหน้าอกทรงกลม นอกจากจะพิจารณาเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสูง หรือเลือกศัลยแพทย์เฉพาะทางแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญก็คือ การเลือกทรงของหน้าอกที่เราชอบนั่นเอง
การเสริมหน้าอกแบ่งออกเป็น 2 ทรง
- เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ หรือ Shaped Implants เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทรงหน้าอกยอดฮิตของสาวไทยจำนวนมาก เพราะทำแล้วดูสวย เนียน เป็นธรรมชาติ ดูเหมือนหน้าอกจริง
- เสริมหน้าอกทรงกลม หรือ Round Implant
ทำหน้าอกทรงกลม
- เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานหน้าอกอยู่แล้ว แต่อยากได้ความชัดของหน้าอกมากขึ้น
- ซิลิโคนทรงกลมจะเพิ่มทรงให้ดูใหญ่และเห็นเนินอกชัดเจนกว่าซิลิโคนทรงหยดน้ำ
- ซิลิโคนเจลภายในจะเหลวกว่าทรงหยดน้ำ
- ไม่เกิดปัญหาเรื่องการบิดหมุน จึงไม่ทำให้เกิดการผิดรูปทรง
- อาจเห็นขอบบนของซิลิโคนได้ชัดเจน ในกรณีที่ใส่ซิลิโคนขนาดใหญ่เกินไปหรือเป็นคนเนื้อหน้าอกบาง
ทําหน้าอกทรงหยดน้ำ
- เหมาะกับคนที่ต้องการเสริมหน้าอกให้ดูเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นบล็อกจนเกินไป
- ทรงหยดน้ำจะผลิตมาแต่ผิวสัมผัสเป็นผิวทรายเท่านั้น เนื่องจากเกาะกับเนื้อเยื่อได้ดีลดโอกาสเกิดการหมุนของซิลิโคน
- สามารถให้รูปทรงที่เป็นธรรมชาติ เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการเสริมนมในปริมาณมาก หรือไม่ต้องการให้เห็นเนินอกด้านบนเด่นชัดจนเกินไป
- เหมาะกับคนผิวหนังหรือเนื้อหน้าอกหย่อนคล้อยเล็กน้อย หรือปานกลางจะช่วยแก้ไขให้ได้ทรงหน้าอกที่ดีขึ้น
โรงพยาบาลมาสเตอร์พีชได้มีการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการผ่าตัดทํานมรูปแบบต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ของศัลยแพทย์มืออาชีพประจำโรงพยาบาลอยู่เสมอ โดยยึดจากความต้องการและความเหมาะสมของผู้เข้ารับบริการเป็นหลัก
เทคนิคการผ่าตัดทำนม แบ่งเป็น 3 ประเภท
- Breast Funnel เป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยให้การผ่าตัดทำนมได้ง่ายดายขึ้น เพราะแผลเล็ก สามารถใส่ซิลิโคนเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว ลดอัตราการติดเชื้อ ลดการเสียดสีบริเวณผิวหนังระหว่างผ่าตัด
- Fibrin คือการนำสารไฟบริโนเจนและธรอมบิน ซึ่งสกัดออกมาจากเลือดของผู้เข้ารับบริการ มาผสมกันในสัดส่วนที่พอดีและนำมาปิดปากแผล วิธีนี้จะทำให้เลือดหยุดไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
- การส่องกล้องแบบ Full HD เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซเลือกใช้ เพราะวิธีนี้จะทำให้หน้าอกเป็นทรงชิดสวยดูธรรมชาติ ประณีตและบรรจง
วิธีการผ่าตัดทำนม
บริเวณผ่าตัด
- ผ่าตัดบริเวณปานนม (Periareola)
- ผ่าตัดบริเวณรักแร้ (Transaxillary)
- ผ่าตัดบริเวณใต้ราวนม (Inframammary)
ข้อดี
- แผลผ่าตัดเข้าถึงเต้านมโดยตรง จึงเจ็บน้อยหน่อย
- ซ่อนแผลได้ดี เพราะแผลจะอยู่บริเวณข้อพับรักแร้พอดี
- มีความบอบช้ำน้อย แผลจะอยู่ในรอยพับระหว่าง เต้านมกับทรวงอกจึงมองแผลไม่เห็นชัด
ข้อเสีย
- เห็นแผลค่อนข้างชัด อาจหมดความรู้สึกบริเวณนี้ได้
- มีโอกาสที่ซิลิโคนจะเคลื่อนขึ้นสูงกว่าปกติ
- แผลเป็นบริเวณหน้าอกซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบหรือกังวลใจ ว่าจะเห็นแผลได้ง่ายในเวลานอนหงาย
เสริมหน้าอกเหมาะกับใคร
- เหมาะกับคนที่มีหัวนมขนาดใหญ่พอ ผิวหนังหนา ยืดหยุ่นได้ดี
- เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการมีแผลตรงบริเวณเต้า
- เหมาะกับคนที่ชอบใส่เสื้อกล้ามหรือสายเดี่ยว รับรองว่าโชว์ได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกลัวว่าใครจะเห็นแผล
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ก่อนเข้ารับการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกอย่างน้อย 2 อาทิตย์ไปจนถึง 1 เดือน เลือกรับประทานอาหารเน้นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายสะสม
- คอลลาเจนภายในร่างกายอย่างเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มปริมาณอัลบูมินในเลือดให้สูงขึ้น เพื่อให้แผลหลังผ่าตัดหายเร็วขึ้น
- ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้สภาพร่างกายมีความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหัวใจ ปอด และภาวะร่างกายที่จำเป็นต้องพักฟื้น เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ผลลัพธ์ออกมาดี
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับทำการผ่าตัด เตรียมความพร้อมก่อนเข้าใช้บริการ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตามแผนที่วางไว้
- ก่อนผ่าตัด งดรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และยาสมุนไพร เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
- งดบุหรี่ เหล้า แอลกอฮอล์ เบียร์ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
การดูแลหลังผ่าตัด
- ศึกษาท่านอนที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมความพร้อมเวลาพักผ่อนหลังผ่าตัด ซึ่งการนอนในแต่ละท่วงท่า มีผลต่อแผลหลังผ่าตัด
- ในช่วง 1-3 วันแรก เป็นช่วงเวลาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งการนอนแต่ละครั้งจำเป็นที่จะต้องนอนในลักษณะหมอนสูง เนื่องจากจะทำให้อาการบวมลดลง และช่วยให้ร่างกายสามารถพักฟื้นในระยะเวลาที่สั้นลง
- ในช่วง 7 วันไปจนถึง 1 เดือนขึ้นไป แผลจะเริ่มทรงตัว ท่านอนจะเป็นในลักษณะนอนหงาย
- ไม่ควรนอนตะแคง หรือนอนคว่ำหน้า เพราะจะทำให้เสียทรง หรือมีอาการบวมจนเกิดอาการอักเสบ
- เลือกชุดชั้นในลักษณะ Support Bar โดยคุณหมอจะมีการวัดขนาดเพื่อให้ได้ไซส์ที่ตรงกับขนาดหลังทำหน้าอก
- หลังผ่าตัดในระหว่างที่พบแพทย์ แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถปลดกระดุมได้สะดวก เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจเช็คแผล และตรวจสอบภาพรวมหลังผ่าตัด