เสริมสะโพก เพิ่มความงามกระชับสัดส่วน

สะโพกที่เด้ง กลมกลึงจากการเสริมสะโพก กระชับสัดส่วน

เสริมสะโพก

สะโพกถือว่าเป็นสัดส่วนสำคัญอย่างหนึ่งบนร่างกาย เพราะสามารถส่งผลต่อบุคลิกภาพ หรือรูปลักษณ์ภายนอกได้ทั้งหมด สาว ๆ หลายคนจึงปรารถนาถึงการมีก้น หรือสะโพกที่สวยกระชับอวบอิ่ม เลยหันมาเพิ่มขนาดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย, การทำศัลยกรรม, รวมถึงการฉีดสารเติมเต็มเพื่อ เสริมสะโพก ให้ได้สัดส่วนที่ต้องการ ซึ่งแต่ละวิธีก็ได้รับความนิยมแตกต่างกันไป แต่มีผลลัพธ์ไปในแนวทางเดียวกันคือรูปร่างที่น่าพึงพอใจนั่นเองครับ   

สะโพกที่มีความโค้งเว้า พร้อมข้อความ ผ่าตัดเสริมสะโพกเหมาะกับใคร

ผ่าตัด เสริมสะโพก เหมาะกับใคร

การผ่าตัดเสริมสะโพกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับคนไข้ที่ต้องการเพิ่มขนาด หรือรูปร่างบริเวณสะโพกให้ออกมาดูดีสวยงาม ซึ่งการผ่าตัดนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้มากประสบการณ์ และโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ โดยผู้ที่เหมาะการผ่าตัดสะโพกมีดังนี้ 

  • ผู้ที่มีก้น หรือสะโพกแบนราบที่ไม่ต้องการใส่กางเกง เพื่อเสริมก้น สะโพก แต่อยากใส่กางเกงรัดรูป โชว์สัดส่วนได้อย่างมั่นใจ
  • ผู้ที่มีภาวะสะโพก หรือก้นเล็กตั้งแต่กำเนิด เช่น แฟ่บ แบนราบ ทำให้เวลาใส่กางเกง กางเกงใน หรือบิกีนี่ แล้วไม่เหมาะกับรูปร่าง สามารถผ่าตัดเสริมสะโพกได้ครับ 
  • ผู้ที่เคยผ่านการเสริมหน้าอกมาแล้ว แต่สัดส่วนบริเวณสะโพกไม่เข้ากับรูปร่าง สามารถผ่าตัดเสริมสะโพกได้ครับ 
  • ผู้ที่ออกกำลังกายให้หุ่นกระชับ แต่ไม่ได้เน้นเฉพาะจุด สามารถผ่าตัดเสริมสัดส่วนบริเวณสะโพกได้ครับ เพื่อให้รูปร่างสมบูรณ์แบบ
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหย่อนคล้อยตามอายุ แต่อยากให้ดูเต่งตึงเหมือนเดิม ก็เหมาะกับการเสริมสะโพกนะครับ 
  • สาว ๆ LGBTQ ที่ไม่มีก้น หรือสะโพกแบนราบ สามารถผ่าตัดเพื่อให้บริเวณดังกล่าวเด่นชัดได้ครับ 
  • สาว ๆ ที่มีรสนิยมหนุ่ม ๆ ต่างชาติ หรือสายฝอ สามารถผ่าตัดเสริมสะโพกได้ครับ เนื่องจากชาวต่างชาติมีความนิยมคนที่สะโพกใหญ่ หรือสัดส่วนชัดเจน 
เทคนิคที่ใช้ในการ เสริมสะโพก มีอะไรบ้าง?

เทคนิคที่ใช้ในการเสริมสะโพกมีอะไรบ้าง?

สำหรับเทคนิคที่ได้รับความนิยมในการเสริมสะโพกนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ รวมถึงการประเมินโครงสร้างจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ ว่าคนไข้มีความเหมาะสมกับเทคนิคใด โดยมีอยู่หลัก ๆ อยู่ 3 ประเภทดังนี้ 

  • การฉีดฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ คือสารเติมเต็มที่อยู่ในกลุ่ม ไฮยาลูรอนิก แอซิด ที่มีความปลอดภัยสูง สามารถสลายไปได้เองตามธรรมชาติ ทำให้ไม่มีสารตกค้างหลงเหลืออยู่ภายในร่างกาย แต่เป็นการรักษาแบบระยะสั้นเท่านั้น เพราะฟิลเลอร์จะคงอยู่ที่ประมาณ 8 – 12 เดือน ทำให้คนไข้ต้องกลับมาเติมเต็มสารดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อคงสภาพสะโพกให้เด่นชัดครับ 

  • การฉีดไขมัน

การฉีดไขมัน จะเป็นการใช้ไขมันสะสมส่วนเกินของคนไข้ จึงอาจเหมาะกับคนไข้บางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งมีข้อดีคล้าย ๆ กับฟิลเลอร์แต่จะคงอยู่ได้อย่างถาวร เนื่องจากเป็นการใช้เซลล์ไขมันภายในร่างกายของคนไข้เอง ไปฉีดเติมเต็มบริเวณสะโพก ทำให้เซลล์เข้ากันได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ รวมถึงการดูแลรักษาของคนไข้ เพราะการฉีดไขมันสามารถสลายไปได้หากดูแลแบบผิดวิธีครับ 

  • การผ่าตัดเสริมด้วยซิลิโคน 

การผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยซิลิโคน นั้นจะให้ผลลัพธ์ที่ถาวร มีความปลอดภัยสูง และได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยคนไข้สามารถเลือกปริมาณตามความต้องการได้ตั้งแต่ 150 cc – 250 cc จะทำให้ได้สัดส่วนที่ดูดีมาก แถมยังออกมาเป็นธรรมชาติอีกด้วย แต่คนไข้ต้องเลือกสาถานพยาบาล และแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้ดี ดังนั้นการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจก็จำเป็น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงอื่น ๆ ลงนั่นเองครับ

รูปทรงของซิลิโคนที่ใช้ในการผ่าตัดเป็นแบบไหน?

รูปทรงของซิลิโคนที่ใช้ในการผ่าตัดเป็นแบบไหน?

รูปทรงของซิลิโคนที่นำมาผ่าตัดนั้น มีให้เลือกอยู่หลัก ๆ 2 ลักษณะ ที่เหมาะสำหรับการเสริมสะโพก ซึ่งจะเป็นถุงที่บรรจุซิลิโคนเท่านั้น ไม่มีการใช้ถุงน้ำเกลือ เนื่องจากน้ำเกลือสามารถซึม หรือรั่วไหลออกมาได้ อีกทั้งการเสริมสะโพกจะอยู่ตรงที่มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จึงทำให้มีการขยับเคลื่อนไหวตอดเวลา ทำให้มีแรงกดบีบสูงมาก ฉะนั้นเลยควรใช้ซิลิโคนที่มีความหนาแน่นนั่นเอง โดยรูปทรงของซิลิโคนมีดังนี้ 

  • รูปทรงกลม 

จะมีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลม แต่จะแบนกว่าถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอก ซึ่งจะเหมาะสำหรับการเสริมสะโพกมากกว่า เนื่องจากใส่ง่าย วางตำแหน่งได้ตรงจุด สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ แต่อาจจะไม่ทำให้สะโพกเด่นชัดเท่าที่ควรครับ 

  • รูปถุงทรงวงรี

รูปทรงวงรีนั้น จะเหมาะกับคนไข้ที่ต้องการเน้นบางจุด เพราะสามารถหมุนได้ทั่วทิศทาง แถมยังสามารถเน้นสะโพกให้เด่นชัดได้มากกว่าซิลิโคนรูปทรงกลม แต่การผ่าตัดใส่ซิลิโคนชนิดนี้จำเป็นต้องมีความแม่นยำ และอาศัยความมากประสบการณ์ของแพทย์ เพราะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าซิลิโคนรูปทรงกลม 

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเสริมสะโพกคนไข้ควรปรึกษากับแพทย์ที่ทำการรักษาโดยตรงดีกว่าครับ เพื่อให้แพทย์ช่วยประเมินโครงสร้างของรูปร่าง และเลือกรูปทรงได้อย่างเหมาะสมนั่นเองครับ 

จำลองสะโพกที่เต่งตึง กลมผ่ายออก

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการผ่าตัด เสริมสะโพก

หากคนไข้ท่านไหนกำลังพิจารณาเข้ารับการผ่าตัดเสริมสะโพก ผมขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูล พร้อมปรึกษาแพทย์ผู้มากประสบการณ์ให้ละเอียดเกี่ยวกับ ความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นไว้ด้วยก็ดีครับ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง 

เนื่องจากการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงที่ตามมาได้ ถึงแม้จะไม่ร้ายแรงแต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูก ก็อาจกลายเป็นผลเสียได้ในอนาคตนะครับ วันนี้ผมจึงจะมาบอกถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดเสริมสะโพกดังนี้ 

  • ภาวะเลือดคั่ง 

โดยทั่วไปสามารถพบได้หลังการผ่าตัด เนื่องจากแพทย์จะทำการใส่สายระบายน้ำเหลืองไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ดังนั้นการเกิดเลือดคั่งจึงเกิดได้น้อย

  • การติดเชื้อ 

ภาวะติดเชื้อนั้น สามารถพบได้น้อยมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาสเกิดเลย โดยทั่วไปหากมีอาการควรเอาออกทันที แล้วค่อยเสริมใหม่อีกครั้งใน 3 เดือนข้างหน้า 

  • ภาวะพังผืดหดรัด 

ภาวะพังผืดหดรัดนั้น สามารถพบได้น้อยหากเทียบกับการผ่าตัดเสริมหน้าอก เนื่องจากกล้ามเนื้อสะโพกมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงทำให้พังผืดนิ่มเสมอครับ 

  • เส้นประสาท

เส้นประสาทได้รับผลกระทบ จะเป็นโอกาสที่พบได้น้อยที่สุด เพราะเส้นประสาทบริเวณสะโพกอยู่ในตำแหน่งที่ลึกมาก ๆ อีกทั้งยังสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ เช่น รู้สึกร้อน หรือหนาวเย็นบริเวณแก้มก้น หรืออาจจะรู้สึกชา ๆ แต่ว่าโดยทั่วไปอาการมักจะดีขึ้นภายในเวลา 2 – 3 เดือนครับ

แชร์เลย: