รองปลายเนื้อเยื่อเทียม ทางเลือกของการแก้ปัญหาปลายจมูก
วันที่อัพเดตล่าสุด: 30 July 2024
รองปลายเนื้อเยื่อเทียมทางเลือกของการเสริมจมูก (Nose Surgery)
อีกทางเลือกสำหรับการเสริมจมูกโดยการรองปลายเนื้อเยื่อเทียม (เนื้อเยื่อเทียม) คือวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นจากคอลลาเจน มีลักษณะเป็นแผ่นนิ่ม ๆ คล้ายฟองน้ำ มีลักษณะเป็นโครงข่ายคล้ายนั่งร้านซ้อนไขว้กันไปมา เช่นเดียวกับโครงสร้างผิว ซึ่งเอื้อให้เซลล์ใหม่เจริญเติบโตบนโครงข่ายนี้ เส้นเลือดใหม่จะเจริญเติบโตแทรกตัวอยู่ในโครงสร้าง สามารถนำมาใช้เสริมเพื่อรองปลายจมูกเพื่อกันจมูกทะลุ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแก้จมูกจากปัญหาผิวหนังบาง หรือคนที่เสริมใหม่เเละต้องการให้มีปลายที่ยาวขึ้น แต่มีผิวหนังเดิมที่ค่อนข้างน้อยบาง หรือเคยผ่านการฉีดสารจำพวกฟิลเลอร์มาก่อน เนื้อเยื่อเทียมนี้นับว่าเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศเกาหลี ในไทยก็เริ่มได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจเสริมจมูก
การเสริมจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียมนี้มีข้อดี คือ สามารถช่วยป้องกันการทะลุได้ระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเสริมแบบพอดี ๆ ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้ประเมิน ซึ่งจะดีกว่ากระดูกอ่อนหลังใบหูตรงที่ไม่ต้องมีแผลหลังหูอีกที่หนึ่งนั่นเอง การเลือกใช้ เนื้อเยื่อเทียมที่สังเคราะห์ขึ้นมาให้คล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อจริงของมนุษย์มากที่สุด ซึ่งเป็นวิวัฒนาการล่าสุดของวงการศัลยกรรมในตอนนี้ โดยได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าปลอดภัยแน่นอน การ เสริมจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียมสามารถนำเนื้อเยื่อเทียมนี้มาเติมแต่งรองบริเวณปลายจมูกได้ตามต้องการ
ข้อดีในการใช้เนื้อเยื่อเทียม
- เป็นสารธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง ทำให้ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือต่อต้านจากร่างกาย
- มีโครงสร้างเดียวกับเนื้อเยื่อผิวจึงไม่ก่อให้เกิดผิวบางและไม่ทะลุ
- สร้างรูปทรงได้สวยงามเหมือนจมูกธรรมชาติ คงอยู่ยาวนาน
เนื้อเยื่อเทียม คือสารธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการ Biotechnology เพื่อให้มีโครงสร้างทางชีวะเคมีและโครงสร้างเนื้อเยื่อเช่นเดียวกับผิวหนัง ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อผิวตามธรรมชาติ และสามารถใช้แทนผิวหนังเพื่อรองรับเนื้อเยื่อต่าง ๆได้ จึงนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมเนื้อเยื่อผิวบริเวณจมูกภายใน และ การแก้จมูกซิลิโคนทะลุปลาย เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเสริมจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียม
- แจ้งให้แพทย์ทราบข้อมูลโรคประจำตัว ยาโรคประจำตัว, ประวัติการผ่าตัด, ประวัติการแพ้ยา, ประวัติการแพ้อาหาร (หากมีประวัติการรักษาจากโรงพยาบาล ควรนำมาในวันปรึกษาด้วย) หรือแจ้งก่อนวันจองคิวผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด และยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยาแก้ปวดกลุ่ม หรือยาโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดหรือแจ้งก่อนวันจองคิวผ่าตัด
- งดทานวิตามินอาหารเสริมต่าง ๆ ทุกชนิด เช่น วิตามินอี, น้ำมันปลา, ใบแปะก๊วย เมล็ดองุ่น โสม ฯลฯ ต้องหยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน
- ควรสระผมให้สะอาดเรียบร้อยก่อนวันผ่าตัด และไม่แต่งหน้าในวันผ่าตัด งดใส่คอนแทคเลนส์ในวันผ่าตัด หากมีปัญหาด้านสายตาให้สวมแว่นสายตาแทน
- งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด เช่น ต่างหู สร้อย แหวน จิลต่าง ๆ บนร่างกายในวันผ่าตัด (หากถอดออกไม่ได้ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ)
- งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนและหลังผ่าตัด เนื่องจากสารที่อยู่ในบุหรี่มีผลลดปริมาณออกซิเจนในเลือดและทำลายเซลล์ที่จะซ่อมแซมการหายของแผล มีผลทำให้เลือดที่จะมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ผ่าตัดลดลง โดยมีโอกาสให้ผิวหนังที่ผ่าตัดขาดออกซิเจน ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1-2 วันก่อนผ่าตัด และต่อเนื่องอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- ก่อนการผ่าตัด คนไข้ต้องทำความสะอาดเล็บมือเล็บเท้าให้สะอาด งดการทาเล็บมือ, เล็บเท้า และงดการต่อเล็บทุกชนิด
- เตรียมภาวะจิตใจให้พร้อม ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป และควรทราบว่าหลังผ่าตัดย่อมเกิดการบวมช้ำบริเวณแผล และการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า หรือบริเวณร่างกายที่ทำการผ่าตัด ซึ่งต้องใช้เวลาในการหายของแผลหรือความเคยชินกับภาพลักษณ์ใหม่
การดูแลหลังผ่าตัด
- ประคบผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งประมาณ 7 วัน แรก รอบบริเวณที่ติดเทปจมูก (ห้ามโดนส่วนที่ติดเทปเด็ดขาด)
- หลังทำจมูก 24 ชั่วโมง อาจจะรู้สึกปวดศีรษะ ปวดบริเวณจมูก บวมบริเวณใบหน้าบ้าง ให้รับประทานยาแก้ปวด และต้องรับประทานยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่งให้หมด
- จมูกอาจจะบวมมากที่สุดประมาณ 2 – 3 วัน สามารถแกะพลาสเตอร์ที่ปิดแผลไว้ออกได้ แกะออกได้ตอนครบ 7 วัน โดยให้ใช้น้ำอุ่นค่อย ๆ เช็ดและลอกออกอย่างเบามือ
- หลังวันที่ 7 หลังจากแกะพลาสเตอร์แล้ว ให้ประคบอุ่นบริเวณที่บวมช้ำ
- หลังจากทำจมูก 3 วัน – 1 สัปดาห์ สามารถไปทำงานได้แต่ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ออกกำลังมาก เช่น การวิ่ง , การว่ายน้ำ , การมีเพศสัมพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก , การขยี้จมูก , ก้มหน้านาน ๆ , ยกของหนัก
- โดยทั่วไปจมูกจะยุบบวมและเข้าที่ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะยุบบวมประมาณ 60% ใน 1 อาทิตย์ , ยุบ 80% ใน 1 เดือน , ยุบบวมและเข้าที่ 90% – 100% ในอีก 3 – 6 เดือน