กล้ามเนื้อตาคือส่วนไหน ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาได้อย่างไร

กล้ามเนื้อตาคือส่วนไหน ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาได้อย่างไร

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ต่างก็ใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ส่งผลให้ “กล้ามเนื้อตา” ทำงานหนัก จนเกิดอาการดวงตาอ่อนล้า เพลียตา หรือถึงขั้นปวดตา หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาว อาจส่งให้เกิดปัญหาดวงตาตามมา เช่น ตาแห้ง, เคืองตา, ตาเบลอ ,สายตาสั้น แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถฝึกกล้ามเนื้อตาเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ได้ ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำให้รู้จักกล้ามเนื้อตา รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อตาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาดวงตาอื่น ๆ

กล้ามเนื้อตา

กล้ามเนื้อตา (Eyelid muscles) คืออวัยวะส่วนสำคัญของดวงตา ที่ทำหน้าที่ควบคุมการกลอกตาไปมาในทุกทิศทาง ดวงตา 1 ข้างจะมีมัดกล้ามเนื้อตา 6 มัด ซึ่งแต่ละมัดจะทำงานร่วมกัน ทำให้สามารถมองไปรอบ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้สายตาในระยะต่าง ๆ ได้ดี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเล่นโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องมีการจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ล้วนทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานอย่างหนัก จนอาจส่งผลให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อตาตามมาได้

ปัญหาที่จะเกิดจากกล้ามเนื้อตา

ปัญหาที่จะเกิดจากกล้ามเนื้อตา

สำหรับปัญหาที่เกิดจากกล้ามเนื้อตา ในกรณีที่ใช้สายตามากเกินไป มีดังนี้

  • ตาล้า

ตาล้า เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ต้องหดตัวเพื่อโฟกัสภาพในระยะใกล้ให้เห็นชัด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการใช้สายตาในระยะใกล้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาเกร็งอย่างต่อเนื่อง และบีบตัวมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะตาล้าขึ้น แนะนำให้มีการพักสายตาในระหว่างวัน ควบคู่ไปกับการบริหารกล้ามเนื้อตา จะช่วยให้อาการดีขึ้น

ปรึกษาหมอฟรี
  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาที่ตามมาหลังจากใช้สายตาอยู่กับหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ผนวกกับปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อตาทำงานได้ไม่เต็มที่ จนไม่สามารถพยุงหนังตาได้ อาจส่งผลให้หนังตาตก, ตาปรือ, ตาง่วง, ลืมตาได้ไม่เต็มที่, มีร่องโหล เบ้าตาลึก ปล่อยไว้ในระยะยาวอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้ ในกรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขที่เหมาะสม

  • ปวดตา

อาการปวดตา เป็นอาการที่จะส่งผลให้ปวดรอบ ๆ บริเวณดวงตา ซึ่งมีส่วนจากการใช้สายตามากเกินไป ในกรณีที่มีอาการปวดตา ในเบื้องต้นแนะนำให้พักสายตา โดยการงดใช้สายตาจากกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้น สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยได้

  • ตาแห้ง

ตาแห้ง เป็นภาวะที่น้ำตาหล่อเลี้ยงผิวตาไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของผิวตา ซึ่งมักจะเกิดในคนที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน แนะนำให้มีการพักสายตาทุก 20 นาที โดยการหลับตา หรือมองไปในระยะไกลที่ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นระยะเวลา 20 วินาที ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า 20-20-20 Rule เป็นเทคนิคในการถนอมดวงตา ที่จะช่วยให้อาการตาแห้งดีขึ้น

  • สายตาสั้น

สายตาสั้น เป็นผลเสียที่เกิดจากการจ้องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ไม่สามารถมองเห็นในระยะไกลได้ ส่วนใหญ่จะเกิดในวัยรุ่นและวัยทำงาน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สายตาเยอะ ส่งผลให้ต้องใส่แว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์เพื่อช่วยในการมองเห็น ในกรณีที่ต้องการแก้ไขในระยะยาว อาจเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาสายตาสั้นได้

การฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา

การฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา

การฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาในเบื้องต้น โดยสามารถทำได้ ดังนี้

  • ฝึกโดยการโฟกัสสายตาด้วยวัตถุใกล้ไกล

การฝึกรูปแบบนี้ สามารถใช้อุปกรณ์ เช่น ไฟฉาย, ดินสอ, ปากกา หรือจะใช้นิ้วของตัวเองก็ได้เช่นกัน โดยเริ่มจากใช้มือข้างถนัดถืออุปกรณ์ตรงกึ่งกลางดั้งจมูก และยืดแขนให้สุด จากนั้นพยายามใช้สายตาเพ่ง ในกรณีที่เห็นเป็นภาพซ้อนให้หลับตาลง และลืมตาใหม่อีกครั้ง เนื่องจากควรเห็นอุปกรณ์เพียงภาพเดียว ถัดมาค่อย ๆ เคลื่อนมือเข้ามาใกล้สายตาเรื่อย ๆ จนกว่าภาพจะซ้อนหรือพร่ามัว แล้วจึงถอยกลับไปเริ่มต้นในระยะที่เห็นชัดที่สุด แนะนำให้ทำประมาณ 20 ครั้ง เพื่อยืดเส้นกล้ามเนื้อตา

  • กรอกดวงตาขึ้นลง

การฝึกกรอกตาขึ้นลง เริ่มต้นด้วยหน้ามองตรง คอตั้งตรง ไม่แหงนหน้า และเหลือบดวงตาขึ้นลง โดยไม่แหงนหรือก้มหน้า ต่อเนื่องกัน 10 ครั้ง

  • กรอกดวงตาซ้ายขวา

การฝึกกรอกตาซ้ายขวา เริ่มต้นด้วยหน้ามองตรง คอตั้งตรง และเริ่มกรอกลูกตาไปซ้ายขวา โดยไม่หันหรือเอียงคอตาม ต่อเนื่อง 10 ครั้ง

  • กรอกดวงตาเฉียงขึ้นและลง

การฝึกกรอกตาเฉียงขึ้นลง เริ่มจากหน้ามองตรง คอตั้งตรง ไม่แหงนหน้า และเหลือตามองปลายคิ้วซ้ายขวา และมองลงมาที่บริเวณแก้มขวา ต่อเนื่อง 10 ครั้ง

  • กรอกดวงตาเป็นวงกลม

การฝึกกรอกตาเป็นวงกลม เริ่มจากมองตรง ไม่แหงนหน้า และเริ่มกรอกลูกตาเป็นวงกลม ทำวนซ้าย 10 ครั้ง และสลับวนขวา 10 ครั้ง

  • นวดดวงตา

สำหรับการนวดดวงตา ให้หลับตาลง และใช้นิ้วชี้วางเหนือหัวคิ้วแต่ละข้าง จากนั้นเริ่มกดนวดเบา ๆ เริ่มจากคิ้วและไล่ไปบริเวณรอบ ๆ ดวงตา เป็นเทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา

ผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตาเพื่อการรักษา

สำหรับใครที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาในเบื้องต้น แนะนำให้ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา จะช่วยให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จนส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้เข้าปรึกษาจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีทีมจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยเทคนิคและเครื่องมือที่ครบครัน ได้มาตรฐานโรงพยาบาล มั่นใจได้ว่าจะได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ ในเบื้องต้นสามารถเข้าปรึกษาจักษุแพทย์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

แชร์เลย:
register