ตาไม่เท่ากัน สาเหตุ อาการ และการรักษาแก้ตาไม่เท่ากัน
ตาไม่เท่ากัน มีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาก็มีหลายรูปแบบ สามารถแก้ไขหรือปรับรูปทรงสวยงามดูสมส่วนเหมือนปกติได้ เช่นการศัลยกรรมผ่าตัด, การฉีดฟิลเลอร์,การฉีดโบท็อกซ์ เป็นต้น หากคนไข้สนใจอยากแก้ไขปัญหาตาไม่เท่ากัน แนะนำให้เขารับคำปรึกษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ เนื่องจากจะสามารถวางแผน และประเมินความเสี่ยงได้อย่างละเอียด แก้ปัญหาได้ถูกจุดนั่นเองครับ
ลักษณะของตาไม่เท่ากัน
ตาไม่เท่ากันนั้น มักมีลักษณะมากจากตาสองข้างไม่เท่ากันจนส่งผลทำให้ใบหน้าดูไม่สมดุล ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีระยะของอาการที่แตกต่างกัน เช่นคนที่มีลักษณะ ชั้นตาสูง, เบ้าตาลึก, มีตาสามชั้นจากภาวะหนังตาหย่อนคล้อย, มีปัญหาคิ้วตก, กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง, หรือหนังตาลงมาบดบังการมองเห็น ถ้าไม่สังเกตดี ๆ ก็อาจไม่เห็นว่าตา2ข้างไม่เท่ากัน และยิ่งปล่อยไว้นาน ๆ อาการก็จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ
ตาไม่เท่ากันเกิดจากอะไร
ปัญหาหนัง ตาไม่เท่ากันเกิดจาก หลายสาเหตุ อาจมาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือมีปัจจัยภายนอกแอบแฝงดังต่อไปนี้
- อายุที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาตาไม่เท่ากันมักพบในผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากความหย่อนคล้อยของผิวหนัง และการสะสมของไขมันบริเวณเปลือกตา
- พันธุ์กรรม
ตาไม่เท่ากันสามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด เป็นผลมาจากกรรมพันธ์ของพ่อและแม่ที่ส่งมายังลูก อาจทำให้มีอาการหนังตาตก กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นต้น
- เคยทำศัลยกรรมตาสองชั้น
การศัลยกรรมผ่าตัดปัญหาตานั้น จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง เนื่องจากจะสามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขได้อย่างตรงจุด หากรักษากับแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์อาจส่งผลข้างเคียงได้เช่น ตาสองชั้นไม่เท่ากัน
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต
พฤติกรรมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาตาไม่เท่ากันได้ เช่นคนไข้ที่มักใช้สายตาจ้องมองหน้าคอม หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ดวงตาเหนื่อยล้า จนทำให้หนังตาตก จนตา2ข้างไม่เท่ากันได้
- เคยเกิดอุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุบริเวณดวงตาอาจส่งผลทำให้เส้นประสาท ได้รับผลกระทบได้ เช่นกล้ามเนื้อตากระตุกตลอดเวลา หรือภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ตาไม่เท่ากันกับวิธีแก้ทางการแพทย์
วิธีแก้ตาไม่เท่ากัน ทางการแพทย์ จะมีอยู่หลากหลายขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ที่เข้ามารักษา โดยส่วนใหญ่แพทย์ผู้มีประสบการณ์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยวิธี แก้ไขตาไม่เท่ากัน มีดังนี้
- ฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์(Filler) เป็นสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ สามารถสลายไปได้เองตามธรรมชาติ มีอายุอยู่ได้นานกว่า 1 – 2 ปี (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของฟิลเลอร์) โดยนิยมนำมาฉีดเพื่อแก้ปัญหาชั้นตาไม่เท่ากัน ปัญหาหนังตาตก เป็นต้น
- ฉีดโบท็อกซ์
โบท็อกซ์(Botox) เป็นการฉีดเพื่อยับยั้งระบบการทำงานบริเวณดวงตา ที่เกิดจากความเหนื่อยล้าสะสม สามารถแก้ปัญหาตาไม่เท่ากันได้
- Foxy Eyes
Foxy Eyes เป็นการผ่าตัดศัลยกรรม ที่ใช้หลักการคล้ายการดึงหน้า โดยจะเน้นดึงบริเวณหางตาที่มีปัญหาให้ยกสูงขึ้นพร้อมเย็บผิวหนัง ทำให้ได้ดวงตาที่มีขนาดเท่ากัน สมดุลกับใบหน้า เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัย ควรทำโดยทีมแพทยืผู้มีประสบการณ์เท่านั้น
- Hifu
การทำหัตถการ Hifu จะสามารถช่วยลดริ้วรอย และเพิ่มความกระชับเรียบเนียนให้ผิวหนังได้อย่างดี แต่อาจจะมีราคาที่สูงจึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทำ
- Ulthera
การทำ Ulthera (อัลเทอร่า) เทคโนโลยียกกระชับผิวด้วยคลื่นพลังงานอัตราซาวด์ สามารถแก้ปัญหาผิวหนังหย่อนคล้อย คิ้วตก หนังตาตก หรือปัญหาตาไม่เท่ากัน ให้เกิดความสมส่วนเหมาะกับใบหน้าของแต่ละบุคคลได้
- Thermage
Thermage (เทอร์มาจ) เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยยกกระชับผิว และกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจนได้ดี สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยรอบดวงตา ปัญหาคิ้วตก หนังตาตก หรือผิวหนังหย่อนคล้อย
- ผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา
การผ่าตัดปรับกล้มเนื้อตา จะสามารถแก้ปัญหาหนังตาตก ตาปรือ หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ จะช่วยปรับสัดส่วนของตาไม่เท่ากัน ให้เกิดความสมดุล เหมาะกับโครงสร้างใบหน้าของแต่ละบุคคลได้
อย่างไรก็ตามวิธีแก้ปัญหาทั้งหมดล้วนต้องปรึกษา แพทย์ที่มีประสบการณ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อประเมิน และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้แต่ละบุคคล
การดูแลตัวเองหลังจากผ่าตัดแก้ตาไม่เท่ากัน
การดูแลรักษาตัวเองหลังจากแก้ปัญหาตาไม่เท่ากันนั้น แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำอย่างละเอียด เพื่อให้ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดออกมามีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีแนวทางการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้
- แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณรอบดวงตาติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน จะสามารถช่วยลดอาการบวมช้ำได้
- ในช่วง 3 วันหลังผ่าตัดสามารถประคบอุ่น เพื่อลดอาการบวมลงได้
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อได้
- แนะนำให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติ
- งดการสูบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันแผลอักเสบหรือเกิดผลข้างเคียง
- แนะนำให้นอนหมองสูงกว่าปกติ หรือใช้หมอนรองคอ เพื่อลดอาการบวมรอบดวงตา
- หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำหน้า หรือนอนตะแคงในช่วงแรก เพื่อป้องกันการกดทับของแผลผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง หรือแต่งหน้าจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติ เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อ หรือเกิดความระคายเคืองได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส จับ แตะ เกา ขยี้ รอบดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดฉีกขาดได้
- งดรับประทานอาหารหมักดอง อาหารทะเล ของแสลง หรืออาการรสจัด เนื่องจากอาจส่งผลทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้